ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 19 เม.ย.2567

'สาวตะกั่วป่า' หรือ 'มะลิต้น' บานสะพรั่งหลังสงกรานต์ ส่งกลิ่นหอมรัญจวนใจ ชวนน่าหลงใหล หายากและใกล้สูญพันธุ์

วันนี้ขอแนะนำรู้จักกับ "มะลิต้น"
ชื่อวิทยาศาสตร์  : Diospyros brandisiana 
              จัดเป็นพืชควรค่าแก่การอนุรักษ์พันธุกรรม เนื่องจากถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และหายาก การอนุรักษ์พืชเหล่านี้ที่ดีที่สุด คือการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ
              เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 3-5 เมตร ลำต้นใหญ่ ผิวเปลือกเป็นตะปุ่มตะปํ่า สีน้ำตาลเกือบดำ และเนื่องจากพบต้นขึ้นในบริเวณชื้นเย็น จึงทำให้มีมอสสีเขียวจับหรือเกาะอยู่ตามลำต้นเต็มไปหมด กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทรงกลม 

               ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หน้าใบสีเขียวอ่อน ใบหนาแน่นมาก 
               ดอก ออกเป็นช่อตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งก้าน แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยเป็นกลุ่ม3-5 ดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อนแยกเป็น 5 แฉก ดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 1-1.5 ซม. ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะดอกดูเหมือนกับดอกมะลิลาทั่วไป จึงถูกเรียกชื่อว่า “มะลิต้น”

               ดอกจะออกตามลำต้น กิ่งก้านที่มีต่อมดอกโผล่ให้เห็นเป็นตะปุ่มตะป่ำกระจายทั่วลำต้น พอดอกชุดแรกบานและร่วงโรยตามธรรมชาติ จะมีดอกชุดใหม่ออกมาแทนที่ และดอกบานส่งกลิ่นหอมทำให้รู้สึกชื่นใจแบบต่อเนื่อง


ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 19 เม.ย.2567
ข้อมูล: สำนักอุทยานแห่งชาติ อส.(เพจอุทยานแห่งชาติเขาหลัก-ลำรู่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การตรวจสอบการควบคุมทั่วไปด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฯ วันที่ 10 - 12 มิถุนายน 2567

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 17 พ.ย.2566

ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 7 ธ.ค.2566