ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 26 พ.ย.2566
หาดูยาก! หมึกกระดองเกี้ยวพาราสีกัน บริเวณแนวปะการัง เกาะเหลายา ใช้หนวดโอบกอดสอดประสานกัน เพื่อผสมพันธุ์ตามธรรรมชาติ
วันที่ 25 พ.ย. 66 ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด เผยแพร่ภาพคลิปวิดีโอลงเพจเฟซบุ๊ก เป็นภาพหมึกกระดอง 3 ตัว กำลังเกี้ยวพาราสีกัน ซึ่งเป็นภาพที่หาดูยาก อยู่บริเวณแนวปะการังของเกาะเหลายา อ.เกาะช้าง จ.ตราด
ซึ่งขณะนั้นเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราดได้ลงดำน้ำ เพื่อเก็บกู้ขยะในแนวปะการัง ภายใต้โครงการ “ทะเลเกาะช้างน่ายล เราทุกคนนำขยะขึ้นฝั่งไ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องณบริเวณเกาะเหลายา และเกาะง่าม อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง
ขณะดำน้ำเพื่อเก็บกู้ขยะใต้น้ำ เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4จ.ตราด ได้สังเกตพบหมึกระดอกจำนวน 3 ตัว ขนาดความยาวประมาณ 25-30 เซนติเมตร เกาะเหลายา ในระดับความลึกประมาณ 2.3 เมตร มีพฤติกรรมคล้ายกำลังผสมพันธุ์
โดยหมึกกระดองมีการว่ายน้ำเกี้ยวพาราสีสลับกับเปลี่ยนสีลำตัวไปด้วย จากนั้นหันหน้ามาแนบชิดกันแล้วใช้หนวดโอบกอดสอดประสานกัน เพื่อจะทำการผสมพันธุ์ตามธรรรมชาติ จะจับคู่กันราว 1 สัปดาห์ หมึกเพศผู้จะคลอเคลียไม่ไปไหน เพื่อป้องกันอันตรายให้หมึกเพศเมีย จะเห็นได้ว่าหมึกเพศผู้ที่กำลังจับคู่ผสมพันธุ์ทำท่าโบกหนวดไปมานั่น เป็นสัญญาณเตือน เพื่อไม่ให้หมึกเพศผู้อีกตัวเข้ามายุ่ง หรือก่อกวนนั่นเองและจากการพบเห็นหมึกกระดองขนาดใหญ่เช่นนี้ ปรากฏตัวให้เห็นนับเป็นการบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ของท้องทะเลตราดได้เป็นอย่างดี
หมึกกระดองนั้นมีรูปร่างคล้ายกับหมึกกล้วย แต่มีรูปร่างที่กลมป้อมกว่าภายในโครงร่างภายในเป็นแผ่นหินปูนรูปกระสวยสอดอยู่กลางหลัง เรียกว่าลิ้นทะเลโดยมากหมึกกระดองจะเป็นหมึกที่อาศัยอยู่เป็นคู่ หรือตามลำพังตัวเดียวไม่ได้อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่เหมือนหมึกกล้วย และจะอาศัยอยู่ตามโพรงหินใต้น้ำใกล้กับพื้นน้ำ และมักเป็นหมึกที่ไม่เกรงกลัวมนุษย์ จึงเป็นที่ชื่นชอบของนักประดาน้ำ และนักถ่ายภาพใต้น้ำหมึกกระดองสามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับหมึกจำพวกอื่น แต่การเปลี่ยนสีของหมึกกระดอง มักจะปรับสีสันบนลำตัวให้มีสีสันและลวดลายกลมกลืนเป็นสีน้ำตาลเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้างที่อาศัยอยู่ในขณะเดียวกันสีสันบนลำตัวก็สามารถจะปรับเปลี่ยนไปตามอารมณ์ความรู้สึก เช่นตอนที่กำลังเกี้ยวพาราสีกันก็จะปรับเปลี่ยนสีสันบนลำตัวไปตามอารมณ์ด้วย
ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 26 พ.ย.2566
ภาพข่าว: ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จ.ตราด ผ่าน อมรินทร์ทีวี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น