ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 29 มิ.ย.2566
พาไปรู้จักกับ "ดาวหนามมงกุฏ" ภายนอกดูสีสันสดสวย แต่แฝงด้วย 'พิษสงร้าย' มีความสัมพันธ์อย่างไรต่อระบบนิเวศทางทะเล
ดาวมงกุฎหนามมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับดาวทะเล แต่มีจำนวนแขนมากกว่า บริเวณแขนมีหนามแหลมยาว ค่อนข้างแข็ง เนื่องจากมีส่วนประกอบของหินปูน ซึ่งบริเวณผิวของหนามเหล่านี้มีสารพิษที่เรียกว่า สารซาโปนิน (saponins) เคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด มีปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็กๆ คล้ายๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมาก ยื่นออกมายึดเกาะพื้น
ดาวมงกุฎหนาม เป็นดาวทะเลขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 8-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตร โดยดาวมงกุฎหนามจะกินปะการังเป็นอาหาร ด้วยการปล่อยกระเพาะอาหารออกมาคลุมบนปะการัง และปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเนื้อเยื่อปะการังและดูดซึมเข้าไป เมื่อปะการังตายจะถูกแรงคลื่นซัดทำให้หักพังเสียหายได้
ทั้งนี้ ดาวมงกุฎหนามที่โตเต็มวัย ปกติจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซ็นติเมตร บนหนามมีสารซาโปนิน (saponin) เคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิด ตัวเมียแต่ละตัวมีไข่ประมาณ 12-24 ล้านฟอง
ปริมาณดาวมงกุฎหนามในพื้นที่ 1 เฮกแตร์ (ประมาณ 10,000 ตารางเมตร) หากมีจำนวนเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก เมื่อดาวมงกุฎหนามระบาด ความเสียหายที่เกิดขึ้นในแนวปะการังจะแผ่เป็นบริเวณกว้างกว่าที่จะเกิดจากสาเหตุการทำลายโดยปัจจัยอื่นๆ เพราะดาวมงกุฎหนามสามารถคืบคลานกินปะการังได้ทุกซอกทุกมุม
สำหรับประเทศไทยบริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามันในปัจจุบัน พบว่าดาวมงกุฎหนามมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งดาวมงกุฎหนามนี้เป็นผู้ล่าที่สำคัญของปะการัง จึงเป็นสาเหตุทำให้จานวนปะการังลดลงในสภาพธรรมชาติ แต่ในขณะเดียวกันดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือหอยสังข์แตร (Charonia tritonis) ที่กินดาวมงกุฎหนามเป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฏหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วย แต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น
สำหรับประเทศไทยก็เช่นกันที่ผ่านมามีการกำจัดดาวมงกุฏหนามหลายวิธี เช่น เก็บขึ้นมาทิ้งบนฝั่ง การฉีดสารเคมีบางชนิดเข้าไปในตัวดาวมงกุฏหนาม เช่น ใช้ฟอร์มาลีน กรดอะซีติค แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ คอปเปอร์ซัลเฟต (จุนสี) ซึ่งสารเคมีตัวสุดท้ายนี้ให้ผลดีที่สุด อย่างไรก็ตาม สารเคมีเหล่านี้ก็อาจมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในแนวปะการังเมื่อใช้ในปริมาณมาก การควบคุมโดยทางชีวภาพ เช่น การใช้หอยสังข์แตรเป็นตัวกำจัดดาวมงกุฏหนามก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
อาการจากการบาดเจ็บจากดาวมงกุฎหนามทิ่มแทง
การบาดเจ็บจากดาวมงกุฎหนามทิ่มแทง ส่วนใหญ่ทำให้เกิดการบาดเจ็บเฉพาะที่ ซึ่งมีพิษรุนแรงกว่าดาวทะเลชนิดอื่น เนื่องจากดาวมงกุฎหนามมีแฉก 16-21 แฉก มากกว่าดาวทะเลอื่นๆ โดยมีสารกลุ่ม ซาโปนินเคลือบอยู่ ซึ่งสารมีฤทธิ์ท าให้เม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) ต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) มีพิษต่อกล้ามเนื้อ (local myotoxin) และ histamine liked effect เมื่อถูกหนามของดาวมงกุฎหนาม แทงสารพิษนี้ก็จะเข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วยทาให้มีอาการเฉพาะที่และอาการทั่วร่างกาย
ทำให้เจ็บปวดอย่างรุนแรง บวมแดงคัน มีเลือดออกมาก เลือดหยุดยาก และมีจ้ำเลือดขึ้น การปฐมพยาบาล การแช่น้ำอุ่นบริเวณผิวหนังที่ได้รับบาดเจ็บ สามารถช่วยลดอาการปวดได้ อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ในรายที่ได้รับพิษรุนแรงอาจมีอาการชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนสามารถทำให้ระบบหายใจล้มเหลวได้
ข่าวประชาสัมพันธ์กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช - 29 มิ.ย.2566
ข้อมูล: คมชัดลึก ออนไลน์ (อ้างถึง กรมประมง) 5 ก.พ.2564
ข้อมูล: "ดาวมงกุฎหนาม : อันตรายต่อมนุษย์และแนวปะการัง" ( สินีนุช ศิริวงศ์: วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
ภาพถ่าย: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช) กรมอุทยานฯ
ภาพประกอบ: กรมทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและชายฝั่ง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น